มาเริ่มกันก่อนที่นี่กับการเรียนภาษาญี่ปุ่น
วันนี้ก้อไม่ว่างหรอกแต่อยากเอาใส่น่ะนะ ไปดูกันที่บทที่ 1-4 กันก่อน ส่วนบทอื่นจะเอาใส่ให้อีกที มาว่ากันเลย 行こう(ikou)
บทที่ 1 เสียงภาษาญี่ปุ่น มาว่ากันด้วยเสียงในภาษาญี่ปุ่นและตัวอักษรฮิระงะนะกับคะตะคะนะกันครับ
-ฮิระงะนะเป็นตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงอ่านของตัวอักษรคันจิและใช้เป็นตัวประกอบของอักษรคันจิในการสร้างคำที่มาจากตัวอักษรเดียวกันเพื่อเปลี่ยนความหมายหรือขยายความหมายของตัวอักษรคันจินั้น ๆ (ไม่ต้องงงนะครับผมเองก็งงเหมือนกัน 555!
-คะตะคะนะเป็นตัวอักษรที่ใช้แทนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศที่นำมาใช้ในภาษาญี่ปุ่น ทั้งยังใช้แทนตัวอักษรคันจิที่มีวิธีการเขียนที่ยุ่งยาก และมีอีกอย่างครับ เขาใช้เขียนเวลาเน้นคำพูดด้วยหากดูในโทรทัศน์ญี่ปุ่นจะเห็นบ่อยมากครับ
เสียงในภาษาญี่ปุ่นจะประกอบไปด้วยเสียงพื้นฐานทั้งสิ้น 46เสียงดังนี้
(ตัวอย่างข้างล่างได้โครงสร้างมาจากเว็บไซต์นะครับแต่ผมได้ดัดแปลงบางส่วนและใส่ตัวอักษรฮิระงะนะกับคะตะคะนะไว้ต่อท้ายตามลำดับครับ)
A (อะ)あ、ア I (อิ)い、イ U (อุ)う、ウ E (เอะ)え、エ O (โอะ)お、オ
KA(คะ)か、カ KI(คิ)き、キ KU(คุ) く、ク KE(เคะ)け、ケ KO(โคะ)こ、コ
SA(ซะ)さ、サ SHI(ชิ)し、シ SU(ซุ)す、ス SE(เซะ)せ、セ SO(โซะ)そ、ソ
TA(ทะ)た、タ CHI(จิ)ち、チ TSU(ซึ)つ、ツ TE(เทะ)て、テ TO(โทะ)と、ト
NA(นะ)な、ナ NI(นิ)に、ニ NU(นุ) ぬ、ヌ NE(เนะ)ね、ネ NO(โนะ)の、ノ
HA(ฮะ)は、ハ HI(ฮิ)ひ、ヒ FU(ฟุ)ふ、フ HE(เฮะ)へ、ヘ HO(โฮะ)ほ、ホ
MA(มะ)ま、マ MI(มิ)み、ミ MU(มุ)む、ム ME(เมะ)め、メ MO(โมะ)も、モ
YA (ยะ)や、ヤ YU (ยุ) ゆ、ユ YO (โยะ)よ、ヨ
RA(ระ)ら、ラ RI(ริ)り、リ RU(รุ)る、ル RE(เระ)れ、レ RO(โระ)ろ、ロ
WA(วะ)わ、ワ O (โอะ)を、ヲ N (อึ้ง)ん、ン
เสียงทั้งหมดข้างต้นจะนํามารวมเป็นคําและรวมเป็นประโยคในการสื่อสาร ส่วนตัวสุดท้าย(อึ้ง)เป็นตัวสะกดแทนเสียง ng,m,n ทั้งนี้ขึ้นกับตัวอักษรตัวต่อไปว่าเป็นตัวอักษรใดมีหลักการใช้ดังต่อไปนี้
-การออกเสียงเป็น ng(สะกดด้วย ง. งู) เมื่ออยู่หน้าอักษรที่ออกเสียงเป็น k,g,w
-การออกเสียงเป็น m(สะกดด้วย ม.ม้า) เมื่ออยู่หน้าอักษรที่ออกเสียงเป็นp,b,m
-การออกเสียงเป็น n(สะกดด้วย น.หนู) เมื่ออยู่หน้าอักษรที่ออกเสียงเป็นตัวอื่น ๆ
ตัวอย่างประโยค
ฉันเป็นคนไทย
私 は タイ人 です。(อักษรคันจิ (漢字) จะทำอีกครับอดใจคอยครับ)
はたし は たいじん です。
WATASHI WA TAIJIN DESU.
คําศัพท์
วาตาชิ わたし แปลว่า ฉัน
วะ は แปลว่า เป็น อยู่ คือ (ตามปกติตัวนี้จะอ่านว่า ฮะ แต่เมื่อนำมาใช้กับประธานของประโยคจะอ่านว่า วะ)
ไทจิน たいじん แปลว่า คนไทย (たい คือ ประเทศไทย และ じん คือ คน ชาว มนุษย์)
เด็สุ/เด็สึ です แปลว่า ครับ หรือ ค่ะ
(จบบทที่ 1)
บทที่ 2 เสียงเพิ่มเติมในภาษาญี่ปุ่นในบทที่ 1 เราได้เรียนรู้ในเรื่องเสียงพื้นฐานของภาษาญี่ปุ่นทั้ง 46 เสียงไปแล้ว สําหรับในบทนี้เราจะเรียนรู้เสียงเพิ่มเติมซึ่งถือเป็นเสียงพิเศษที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้เกิดเสียง หลากหลายมากขึ้น
เสียงเพิ่มเติมมีดังต่อไปนี้ ( เสียงบางตัวไม่สามารถเขียนคําอ่านเป็นภาษาไทยได้)
-เสียงขุ่น คือการที่ตัวอักษรญี่ปุ่นเติมเครื่องหมาย ten ten ( ゛ ) เข้าไปจะได้เสียงอ่านเป็นดังต่อไปนี้
GA が, GI ぎ, GU ぐ, GE げ, GO ご
ZA ざ, JI じ , ZU ず, ZE ぜ, ZO ぞ
DA だ, JI ぢ, ZU づ, DE で, DO ど
BA ば, BI び, BU ぶ, BE べ, BO ぼ
-เสียงกึ่งขุ่น คือการที่ตัวอักษรญี่ปุ่นเติมเครื่องหมาย maru ( ゜ ) เข้าไปจะได้เสียงอ่านเป็นดังต่อไปนี้
PA ぱ, PI ぴ, PU ぷ, PE ぺ, PO ぽ
-เสียงควบ คือการที่ตัวอักษรญี่ปุ่นเติมตัวอักษรเป็นตัวเล็กมาควบทำให้เกิดเสียงอ่านขึ้นมาใหม่ปกติจะเป็นการเลียนเสียงคำที่มาจากภาษาจีน ในภาษาญี่ปุ่นจะใช้ตัวอักษร や、ゆ、よ เป็นตัวเล็กให้เป็นเสียงควบ (คือใช้ตัวขนาด1/4ของตัวเขียนปกติゃ、ゅ、ょ)
KYA きゃ, KYU きゅ, KYO きょ
SHA しゃ, SHU しゅ, SHO しょ
CHA ちゃ, CHU ちゅ, CHO ちょ
NYA にゃ, NYU にゅ, NYO にょ
HYA ひゃ, HYU ひゅ, HYO ひょ
MYA みゃ, MYU みゅ, MYO みょ
RYO りゃ, RYU りゅ, RYO りょ
-เสียงควบบวกเสียงขุ่น
GYA ぎゃ, GYU ぎゅ, GYO ぎょ
JA じゃ, JU じゅ, JO じょ
JA ぢゃ, JU ぢゅ, JO ぢょ
BYA びゃ, BYU びゅ, BYO びょ
-เสียงควบบวกเสียงกึ่งขุ่น
PYA ぴゃ, PYU ぴゅ, PYO ぴょ
ตัวอย่าง
私は人形が好きです。 (ฉันชอบตุ๊กตา)
watashi wa ningyou ga suki desu。
คําศัพท์ประจําบท
にんぎょう แปลว่า ตุ๊กตา
ningyou
すき แปลว่า ชอบ
suki
****หมายเหตุ****
สำหรับตัวคะตะคะนะใช้หลักการเดียวกันครับเลยไม่ลงไว้ให้
(จบบทที่ 2)
บทที่ 3 การใช้คํากริยา
คํากริยา ある arimasu (มี)
1.ประโยคในภาษาญี่ปุ่นมีข้อควรสังเกตดังนี้
การวางรูปประโยค – คํากริยาจะต้องอยู่ท้ายประโยคเสมอ
คํานาม(ประธานของประโยค) -จะอยู่ต้นประโยค ไม่มีการแบ่งเอกพจน์ พหูพจน์
2.การวางรูปประโยคจะจัดวางเรียงดังนี้
ภาคประธาน+ คําแสดงเน้นประธาน+ ภาค กริยา
本があります。
hon ga arimasu
มีหนังสือ(อยู่)
( 本 hon = หนังสือ) ( が ga = คําเน้นประธาน) ( あります arimasu = มี)
3.ในที่นี้ คําว่า が ga เป็นคําแสดงเน้นประธาน สําหรับใช้ในการเน้นที่ภาคประธาน(แตกต่างจากการใช้ は wa ที่จะเน้นภาคกริยา)
**ที่ควรจําอีกอย่างคือ คําว่า あります arimasu จะใช้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต(สิ่งของ)
รูปปฏิเสธของ あります arimasu คือ ありません arimesen (ไม่มี)
ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้คํากริยา ありますarimasu (มี) และ ありません arimasen (ไม่มี)
本があります。hon ga arimasu = มีหนังสือ
本がありません。hon ga arimasen = ไม่มีหนังสือ
紙がありません。kami ga arimasen = ไม่มีกระดาษ
ペンがあります。pen ga arimasu = มีปากกา
花があります。hana ga arimasu = มีดอกไม้
4.ในกรณีต้องการทําเป็นประโยคคําถามเราจะเติมคําว่า か ka ต่อท้ายประโยคนั้น เช่น
本がありますか。hon ga arimasu ka = มีหนังสือไหม
紙がありますか。kami ga arimasu ka = มีกระดาษไหม
ペンがありますか。pen ga arimasu ka = มีปากกาไหม
花がありますか。hana ga arimasu ka = มีดอกไม้ไหม
5.ในการตอบคําถามในลักษณะนี้ ให้ตอบด้วยคําตอบรูปใดรูปหนึ่งดังนี้
はい、あります。hai , arimasu = ครับ มี
いいえ、ありません。iie, arimasen = เปล่า ไม่มี
6.คําว่า か ka นอกจากจะใช้เป็นคําถามได้แล้ว ยังใช้ต่อระหว่างคํานาม แปลว่า “หรือ” ได้ เช่น
ペンか鉛筆がありますか。pen ka empitsu ga arimasu ka = มีปากกาหรือดินสอไหม
7.คํากริยา あります arimasu มีรูปเดิม(dic. form) มาจาก ある aru (มี)
แบบฝึกหัด
ให้เขียนคำแปลของคำต่อไปนี้พร้อมทั้งตัวอักษรฮิระงะนะหรือคะตะคะนะ
hon , arimasu , kami , pen , arimasen , hana ,
(จบบทที่ 3 )
บทที่ 4 การใช้ の no (แปลว่าของ)
ตัวอย่างรูปประโยค
あなた の 時計。
anata no tokei ( นาฬิกาของคุณ)
วิธีใช้สามารถใช้ได้ในกรณีต่อไปนี้
1.ใช้ต่อระหว่าง
คําสรรพนามกับคํานามความหมายของคําว่า”ของ”จะสมบูรณ์แบบและชัดเจนเช่นตัวอย่างข้างต้น2.ใช้ต่อระหว่าง
คํานามกับคํานาม ความหมายของคําว่า”ของ”อาจจะไม่ต้องแปลออกมาเช่น
子供の靴。
kodomo no kutsu.(รองเท้าเด็ก)
大人の帽子。
otona no boushi. (หมวกผู้ใหญ่)
3.ใช้ต่อวลีหรืออนุประโยคที่มีกริยาลงท้ายเข้าเป็นประโยคเพื่อทําให้วลีนั้นเป็นคํานามและเป็นประธานของประโยค
เช่น
夜、遅く寝るのは体に良くない。
yoru osoku neru no wa karada ni yokunai
(การนอนดึกไม่ดีต่อสุขภาพ)4.ใช้เป็นคำถาม
ในภาษาพูดเพื่อการตัดประโยคให้สั้นเข้าเช่น
何処に行くのですか。
doko ni iku no desu ka
(ไปไหน)
ถ้าเป็นคนสนิทกันสามารถตัดคําว่า “เดซุกะ”ออกได้และขึ้นเสียงสูงที่คําว่า”โน๊ะ”
จะได้เป็น
何処に行くの。
doko ni iku no (ไปไหน)
5.ใช้ต่อท้ายกริยา
ใช้เติมเพื่อทำให้กริยาเป็นคํานาม
เช่น
คำกริยา
行く
iku (ไป)
คำนาม
行くの
ikuno (การไป)
บทที่ 5 การใช้ WA กับ GA
ปัญหาในการใช้ภาษาญี่ปุ่นของคนไทยอีกเรื่องหนึ่งคือปัญหาการใช้
WA และ GA โดยมีหลักการใช้
คําทั้งสองดังต่อไปนี้
- ภาษญี่ปุ่นสามารถแบ่งออกเป็นภาคใหญ่ๆได้สองภาคคือ
- WA จะเป็นคําที่ใช้แทรกอยู่ระหว่างภาคประธานและภาคกริยากรรม ยกตัวอย่างเช่น
WATASHI WA GOHAN O TABEMASU.(ฉันกินข้าว)
ในที่นี้คําว่า WATASHI (ฉัน)เป็นภาคประธานของประโยค และคําว่า GOHAN O TABEMASU
(กินข้าว)เป็นภาคกริยากรรมของประโยค โดยมี WA แทรกอยู่ตรงกลาง
(เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นเราอาจเทียบ WA เท่ากับ IS , AM , ARE (เป็นอยู่คือ)ในภาษาอังกฤษได้)
3.ส่วน
GA อาจใช้แทน WA ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะเน้นภาคที่แตกต่างกันยกตัวอย่างเช่น
- WATASHI WA THAIJIN DESU.
- WATASHI GA THAIJIN DESU.
ประโยคทั้งสองข้างต้นมีความหมายเดียวกันว่า”ฉันเป็นคนไทย” แต่
เน้นภาคที่แตกต่างกันโดยประโยคแรกที่ใช้
WAจะเน้นที่ภาคกริยากรรม(THAIJIN DESU.)ส่วนประโยคที่สองใช้
GAจะเน้นที่ภาคประธาน(WATASHI)ให้เราเลือกใช้ WA หรือ GA ตามภาคที่เราต้องการเน้น
บทที่ 6 การใช้ ni (แปลว่าที่)
เช่นประโยค
teburu ni nani ga arimasu ka? ( ที่โต๊ะมีอะไร? )ni
นอกจากจะใช้สําหรับแสดงสถานที่แล้วยังใช้แสดงเวลา แสดงความประสงค์
แสดงทิศทางและอื่นๆโดยสามารถแบ่งแยกได้ดังนี้
1.แสดงสถานที่
เช่น
yamada san wa doko ni sunde imasu ka ?2.แสดงเวลา
เช่น
nanji ni okimasu ka ?การบ้านบทนี้ให้นักศึกษาแปลศัพท์ต่อไปนี้เป็นภาษาไทย(ทุกคําเป็นศัพท์ที่อยู่ในบทเรียนนี้ )
doko,nanji,okimasu,kono mono, tokei,benkyo,nihongo,tsukaimasu,uchi,teburu,
บทที่ 7
การใช้คําวิเศษในภาษาญี่ปุ่น
การใช้คําวิเศษในภาษาญี่ปุ่นเพื่อบอกลักษณะใหญ่เล็กใหม่เก่าหรือร้อนหนาวจะสามารถแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ 2 หมวดคือ
1.หมวดที่ใช้ na ต่อท้ายเช่น
kirei na สวย
hansamu na หล่อ
shinsetsu na ใจดี
yumei na มีชื่อเสียง
genki na แข็งแรง
shizuka na เงียบสงบ
nigiyaka na เจียวจ๊าว
2.หมวดที่ใช้ i ต่อท้ายเช่น
okii ใหญ่
chiisai เล็ก
atarashii ใหม่
furui เก่า
ii ดี
warui เลว
atsui ร้อน
samui หนาว
tsumetai เย็น(เครื่องดื่มหรืออารมณ์คน)
muzukashii ยาก
yasashii ง่าย
takai แพง
yasui ถูก(ราคา)
hikui ตํ่า
omoshiroi สนุก น่าสนใจ
oishii อร่อย
shiroi ขาว
kuroi ดํา
akai แดง
aoi นํ้าเงิน
การใช้คําวิเศษเหล่านี้ในการขยายคํานามหรือกริยามีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.การขยายคํานาม
ทั้งหมวดที่ 1 และหมวดที่2 สามารถตามด้วยคํานามที่จะขยายได้เลยตัวอย่างเช่น
หมวดที่ 1 kirei na hito คนสวย , shitsuka na basho สถานที่เงียบสงบ
หมวดที่ 2 okii hito คนตัวใหญ่ , atsui kuni ประเทศทีมีอากาศร้อน
2.การขยายคํากริยา
2.1 หมวดที่ 1 จะสามารถขยายคํากริยาได้ต่อเมื่อเปลี่ยนเสียง na ที่อยู่ท้ายคําวิเศษนั้นให้เป็น ni ก่อน เช่น
shitsuka ni suru ทําให้เงียบ , kirei ni souji suru ทําความสะอาดให้สะอาดสวยงาม
2.2 หมวดที่ 2 จะสามารถขยายคํากริยาได้ต่อเมื่อเปลี่ยนเสียง i ที่อยู่ท้ายคําวิเศษนั้นให้เป็น ku ก่อนเช่น
okiku suru ทําให้ใหญ่ขึ้น , yasuku uru ขายถูกๆ
นักศึกษาลองผสมคําต่างๆกับคําวิเศษเหล่านี้ดูนะครับฝึกฝนให้ชํานาญ
การบ้านบทนี้-จงแปลคําศัพท์ต่อไปนี้เป็นภาษาไทย
genki na hito , nigiyaka na basho , chiisai hito , ii hito , taikai , oishii ,samui basho , tsumetai hito
บทที่ 8
การใช้…….kara…….made(ตั้งแต่……ถึง……..)
ในภาษาญี่ปุ่นมีการใช้สํานวน…..kara…madeอยู่บ่อยครั้งมากซึ่งหลักการใช้มีดังนี้
1)kara หมายถึงการบอกถึงจุดเริ่มต้นของเวลา/สถานที่
และ made หมายถึงการบอกถึงจุดสุดท้ายหรือจุดจบของเวลา/สถานที่เช่น
kuji kara goji made hataraki masu.=ทํางานตั้งแต่เวลา9นาฬิกาจนถึงเวลา17นาฬิกา
tokyo kara osaka made donogurai kakarimasu ka.=จากโตเกียวถึงโอซาก้าใช้เวลาสักเท่าไหร่คะ
2)การใช้…..kara…..made นั้นไม่จําเป็นเสมอไปว่าต้องใช้รวมอยู่ในประโยคเดียวกันเช่น
kuji kara nihongo o benkyo shimasu.=เรียนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่เวลา9นาฬิกา
juniji made nihongo o benkyo shimasu.=เรียนภาษาญี่ปุ่นจนถึงเวลา12นาฬิกา
3)คําที่ตามหลังkaraกับmadeนั้น ไม่จําเป็นว่าต้องเป็นคํากริยาเสมอไป อาจเป็นคํานามก็ได้เช่น
nihongo no benkyo wa kuji kara desu.=การเรียนภาษาญี่ปุ่นเริ่มตั้งแต่เวลา9นาฬิกา
(อธิบาย- (1)คําว่าbenkyo shimasuแปลว่าเรียนเป็นคํากริยา ซึ่งมาจากการรวมคําของคํานามbenkyo(=การเรียน)
กับคํากริยาshimasu(=ทํา)เข้าด้วยกัน ดังนั้นคําว่า nihon go no benkyo จึงมีความหมายว่าการเรียน
ภาษาญี่ปุ่น
(2)คําที่ตามหลังคําช่วย ni นั้นจะต้องเป็นคํากริยาเสมอ และคําว่า desu จะไม่ใช้ตามหลัง
คําช่วย ni เด็ดขาดซึ่งไม่เหมือนกับการใช้คําช่วยkara,made ที่มีคําตามหลังเป็น desu ก็ได้เช่น
rokuji ni okimasu.=ตื่นนอนเวลา6นาฬิกา
ima hachiji (ไม่ใช้ni) desu=ขณะนี้เวลา8นาฬิกา
ภาคประธาน และ ภาคกริยากรรม
โห้โรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นหรอค่ะเนี่ย ว่างๆจะเข้ามาเรียนนะค่ะ
คิ ๆ ๆ ชอบจังเยยค่ะ ว่าง ๆ มาเล่น m s n สอนหั้ยหน่อยด้ายมั้ยคะ อ้อ !! มีอีกอย่างค่ะ คือว่า … เอาวิทยุมาใส่ใน s p a c e s ยางงัยหรอคะ ช่วยบอกทีนะคะ ขอร้อง นะคะ ๆ ๆ *-* n u m i *-*
ขอบคุนน่ะค่ะ ช่วยในการสอนภาษาญี่ปุ่นมากๆเลยตอนนี้กำลังทามรายงานอยู่น่ะคะ
ありが とうござい ます
เปลี่ยนสีเหลืองเป็นสีอื่นดีกว่านะ^^
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ตั้งแต่ transfer มาจาก space ก็ไม่ได้เช็คเลย
จึงไม่รู้ว่ามันอ่านยาก มองไม่เห็น
จะหาเวลาแก้ไขให้นะครับ
ขอตัวอักษรคันจิหน่อย